วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดครั้งที่1ประวัติคอมพิวเตอร์3-54


ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์
ชาวจีนในประมาณ 2600 ปี ก่อนคริสตกาล ได้เป็นคนประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณ ขึ้นมา เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องคำนวณและคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ได้ออกแบบเครื่องช่วยในการคำนวณโดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟือง
พ.ศ. 2337 กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช (Gottfried von Leibniz)ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูง สามารถคูณและหารได้ บุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเครื่องจักรคำนวณคือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2343 เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า Difference engine ต่อมา
ในปีพ.ศ.2439 ฮอลเลอริชได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ ชื่อ บริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติงเรดคอสดิง หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2467 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine: IBM)
แนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจนั้นก้าวหน้ามากโดยเฉพาะแนวคิดทางด้านการใช้โปรแกรมควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติ แบบเบจได้ริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการใช้คำสั่งเลือกแบบมีเงื่อนไข เครื่องวิเคราะห์ที่แบบเบจวิเคราะห์ขึ้นอาจกล่าว ได้ว่าเป็นแนวคิดเดียวกับการ ทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่แบบเบจก็ไม่สามารถสร้างเครื่องวิเคราะห์นี้ให้เป็นจริงได้เนื่องจากเป็นความคิดที่ล้ำยุคเกินไป จึงทำให้ ไม่มีช่างฝีมือคนใดสามารถผลิตฟันเฟืองต่างๆ ตามที่เขาต้องการได้ แบบเบจถึงแก่กรรมก่อนที่จะได้ทราบว่าแนวคิดของเขานั้น สามารถ เป็นจริงได้ในเชิงไฟฟ้าไม่ใช่เชิงกล แบบเบจจึงได้รับสมญานามว่า เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ยุคแรก อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1958 (พ.ศ.2488ถึง พ.ศ.2501) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบหลอดสุญญากาศ ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง มีปัญหาเรื่องความร้อนของหลอดสุญญากาศ จึงทำให้ไส้ของหลอดขาดบ่อย การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I) อีนิแอค (ENIAC) ,ยูนิแวค, (UNIVAC)

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1959 ถึง ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506) หรือที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบทรานซิสเตอร์ โดยมี แกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ ใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาเขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1964 ถึง ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอน ขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงเรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 จนถึงปัจจุบัน เป็นของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration: VLSI) ทำให้ขนาดเครื่องมีขนาดเล็ก ระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่างๆเข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)


เครดิต Online station


ที่มาhttp://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm